วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 5 , Tuesday 8 September , 2558

Diary No. 5 ,  Science Experiences Management for Early childhood

Instructor Jintana suksumran Tuesday 8 September , 2558 Time : 13.30 - 17.30 PM.



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
     ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นไปตามลำดับขั้น ดังนี้

1 . ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
- ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี 
พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก

2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) 
ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น  คือ
 2.1 ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) 
เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
2.2 ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) 
เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ  รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน

3 .ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) 
ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล

4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) 
เด็กในนี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคน ทำหิจกรรม พับกระดาษเป็นสิ่งของ แต่ให้เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ (ข้าพเจ้าพับว่าว)






  Assessment.

Skills (ทักษะที่ได้รับ)

-ได้รู้เกี่ยวกับทฤษฏีของนักทฤษฎี และได้รับทักษะการคิด จากกิจกรรมพับกระดาษ


Apply ( การนำไปใช้)

-สามารถนำไปใช้ในการบูรณาการเข้ากับชั้นเรียนของเด็กปฐมวัย และยังได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อีกด้วย

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

-เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก พยายามนั่งเรียน(กับพื้น) ตั้งใจฟังอาจารย์ สภาพแวดล้อมห้องเรียนไม่เอื้ออำนวยสักเท่าไหร่
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)

- มาก่อนเวลาเรียน มานั่งรออาจารย์ในห้องเรียน
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

-เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และทำกิจกรรมดีมาก  พอถึงเวลาทำงานแต่ละคนก็ต่างทำงานของตนเอง ไม่มีเสียงคุยกันเลย
Teacher-Assessment (ประเมินครู)

-เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมสำหรับการสอน มีการเตรียมอุปกรณ์ เตรียมสื่อมาอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น