Instructor Jintana suksumran Tuesday 15 September , 2558 Time : 13.30 - 17.30 PM.
Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
-ทบทวนความรู้เดิมเรื่อง การทำงานของสมอง
การทำงานของสมอง คือ พัฒนาการที่นำมาจัดเป็นลำดับขั้นของการเรียนรู้ คือ พฤติกรรมวิธีการเรียนรู้และจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสามารถและพัฒนาการ
เด็ก 1-2ปี เรียนรู้ผ่าน sensorimoter (ประสาทสัมผัสทั้ง 5)
หลักการและแนวคิดของนักการศึกษา
-ฟรอเบล (Froeble) เชื่อว่า ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็ก ด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อย่างเสรี การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก : ให้เด็กมีกิจกรรมอย่างเสรี โดยการจัดกิจดกรรมการเรียนรู้ผ่านการเล่นเสรี
-เพียเจต์ เชื่อว่า เด็กจะเกิดการเรียนรู้ เมื่อมีปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม
การจัดกิจกรรม ฝึกให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
-เอลคายน์ (Elkind) เชื่อว่า การเร่งให้เด็กเรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก , เด็กควรมีโอกาสเล่นแดละเลือกกิจกรรมดารเล่นด้วยตนเเอง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก : จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตัวเอง
-อิริคสัน เชื่อว่า ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เด็กจะประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี ไว้วางใจผู้อื่น มีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
-ดิวอี้ เชื่อว่า เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ Learning by doing.
-สกินเนอร์ เชื่อว่า การให้แรงเสริมกับเด็ก เช่นการชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมได้สำเร็จ เป็นสิ่งที่ดี
-เปสตาลอสซี่ (Pestalozzi) เชื่อว่า ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญ และจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา , เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจ และ ความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน , เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก : จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรัก ให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
ความหมายของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์หมายถึง การศึกษาสืบค้น และจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่ประกอบด้วยวิธีการ ทักษะกระบวนการ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผน มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1. การเปลี่ยนแปลง
2. ความแตกต่าง
3. การปรับตัว
4. การพึ่งพาอาศัยกัน
5. ความสมดุล
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1. ขั้นกำหนดปัญหา
2. ขั้นตั้งค่าสมมติฐาน
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นลงข้อสรุป
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1. ความอยากรู้อยากเห็น
2. ความเพียรพยายาม
3. ความมีเหตุผล
4. ความซื่อสัตย์
5. ความมีระเบียบและรอบคอบ
6. ความใจกว้าง
การเรียนรู้อย่างมีความสุข
- การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
- การเรียนรู้แบบองค์รวมที่ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน
- การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
- การเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
- พัฒนาทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การสรุปความคิดรวบยอด การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
- กิจกรรมโครงการ กิจกรรมประจำวัน การเล่น กิจกรรมการทดลอง กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ กิจวัตรประจำวัน ฯลฯ
การเรียนรู้แบบองค์รวม
- กิจกรรมที่จัดสอดคล้องกับประสบการณ์ที่ได้รับ
- ครูผู้สอนหรือผู้ดูแล เด็กควรหลอมรวมหรือเชื่อมโยงความรู้ประสบการณ์
- ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้านทั้งทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา
- ประสบการณ์ต่างๆ สัมพันธ์กันในลักษณะบูรณาการ
สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเอง และอยู่ร่วมกับผู้อืื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุล ยึดเด็กเป็นสำคัญ และต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน
Assessment
Skills (ทักษะที่ได้รับ)
-ได้รู้เกี่ยวกับทฤษฏีของนักการศึกษา รู้แนวคิดและหลักการทำให้เราเข้าใจหลักการและเนื้อหามากขึ้น และได้รับทักษะการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถาม
Apply ( การนำไปใช้)
-สามารถนำไปใช้ในการบูรณาการเข้ากับชั้นเรียนของเด็กปฐมวัย และยังได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อีกด้วย และยังได้รู้หลักในการพัฒนาเด็กของแต่ละนักการศึกษา เพื่อจะได้นำไปเป็นแบบอย่างในการจัดกิจกรรมให้เด็กในอนาคตอันใกล้นี้
classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
-เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก พยายามนั่งเรียน(กับพื้น) ตั้งใจฟังอาจารย์ สภาพแวดล้อมห้องเรียนไม่เอื้ออำนวยสักเท่าไหร่ แต่สภาพอากาศเย็นดี เพราะเครื่องปรับอากาศ
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
- มาก่อนเวลาเรียน มานั่งรออาจารย์ในห้องเรียน มีการกล้าตอบคำถามกับอาจารย์ผู้สอนมากขึ้น
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
-เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และทำกิจกรรมดีมาก พอถึงเวลาทำงานแต่ละคนก็ต่างทำงานของตนเอง พออาจารย์ให้จดบันทึก เพื่อนก็ตั้งใจจดบันทึกของตนเอง ไม่คุยเสียงดัง
Teacher-Assessment (ประเมินครู)
-เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมสำหรับการสอน มีการเตรียมอุปกรณ์ เตรียมสื่อมาอย่างดี มีการใช้เทคโนโลยีสื่อการสอน(Powerpoint)ที่คล่องแคล่ว และสวยงาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น