วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทความวิทยาศาสตร์ สอนลูกเรื่องฤดูกาล (Teaching Children about Seasons)

บทความวิทยาศาสตร์ สอนลูกเรื่องฤดูกาล (Teaching Children about Seasons)





ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

      การสอนลูกเรื่องฤดูกาล (Teaching Children about Seasons) 

หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึง การแบ่งช่วงเวลาในหนึ่งปีตามสภาพอากาศ แต่ละฤดูกาลจะมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันไป เกิดขึ้นจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ความร้อนจากดวงอาทิตย์ การระเหยของน้ำบนผิวโลก และการเคลื่อนที่ของอากาศ ในแต่ละภูมิภาคจะมีช่วงฤดู กาลแตกต่างกัน สำหรับประเทศไทยมี 3 ฤดูกาลคือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ฤดูกาลเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นในโลกนี้ เด็กจึงควรรู้จักและเข้าใจสภาพธรรมชาติของฤดูกาล เพื่อได้อยู่อย่างมีความสุขกับธรรมชาติ

การสอนเรื่อง ฤดูกาลมีความสำคัญอย่างไร 

การสอนเรื่องฤดูกาลสำคัญดังนี้

- เรื่องฤดูกาลเป็นเรื่องธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์กับคนเราเสมอ จึงควรสอนความรู้ให้แก่เด็ก

- ความเป็นธรรมชาติเป็นเรื่องของเหตุและผล จึงสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กสนใจ สืบค้นเรื่องราวที่เกี่ยว ข้องกับฤดูกาลเพื่อต่อยอดได้ต่อไป

- การเรียนเรื่องใดๆเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนช่างคิด ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ควรปลูกฝังให้แก่เด็กปฐมวัย

- นิสัยของเด็กปฐมวัยจะชอบสำรวจธรรมชาติ ดังนั้น การเรียนเรื่องฤดูกาลเป็นการตอบสนองความสนใจให้แก่เด็ก

การสอนเด็กเรื่องฤดูกาลมีความสำคัญอย่างไร ?

การสอนเรื่องฤดูกาลมีประโยชน์ต่อเด็ก ดังนี้

· เด็กจะมีความเข้าใจเรื่องของธรรมชาติของฤดูกาล เช่น เมื่อฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้ามืด ความหนาวเย็น ความร้อน ต่างมีเหตุที่มา เมื่อเข้าใจ เด็กจะมีความสุขที่จะอยู่กับธรรมชาติเหล่านี้

· เด็กได้ตระหนักรู้ความสัมพันธ์ของฤดูกาลกับการดำรงชีวิตของตนเอง เช่น การเลือกเครื่องใช้ กินอาหาร การเดิน ทาง การรักษาสุขภาพ การเล่น การออกกำลังกาย ฯลฯให้สอดคล้องกับสภาพของอากาศในฤดูกาลนั้นๆ

· เด็กจะเกิดแรงบันดาลใจที่จะเรียนรู้เรื่องอื่นๆต่อยอดจากเรื่องฤดูกาลไปได้อีก เช่น เรื่องการรักษาสุขภาพให้แข็ง แรง ปลอดภัยจากโรคต่างๆที่เกิดขึ้นให้แต่ละฤดูกาล

· เด็กจะได้รับการพัฒนาการสติปัญญาตามวัย เด็กได้รับการส่งเสริมให้ใช้ประสาทสัมผัส ในขณะทำกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับฤดูกาล เช่นการสัมผัสน้ำฝน การมอง เห็นรุ้งกินน้ำ การสัมผัสดินแฉะหลังฝนตก

· การพัฒนาการทางอารมณ์จะได้รับการตอบสนองตามวัย เด็กจะมีความสุข ได้เรียนในสิ่งที่ชอบ จะเกิดความสนใจที่จะเรียน

· เด็กได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาทักษะด้านการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ในขณะทำกิจกรรมเกี่ยวกับฤดู กาล เช่น การทดลองการเกิดฝน การทดลองการเกิดรุ้งกินน้ำ การออกสำรวจสภาพดิน น้ำหลังฝนตก เป็นต้น

· เด็กจะได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพให้เป็นคนช่างสังเกต มีเหตุผล สามารถปรับตัวได้ และรักสิ่งแวดล้อม พร้อมร่วมมือรักษาสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ เนื่องจากเป็นทรัพยากรส่วนรวม เป็นต้น

ครูควรสอนเรื่องฤดูการอย่างไร ?

ในช่วงปีหนึ่งๆ มีฤดูกาลเกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง และแตกต่างไปตามสภาพแต่ละท้องถิ่น ครูจะจัดกิจ กรรมในชีวิตประจำวัน ให้เด็กได้สังเกตผ่านประสาทสัมผัสโดยตรง เช่น

· ช่วงฤดูฝนจะมีฝนตกติดต่อกันทั้งวัน การสนทนาของครูและเด็กเริ่มตั้งแต่เช้า ด้วยคำถามชวนให้สังเกตและคิดว่า เราแต่งกายอย่างไร เราใช้อะไรเป็นเครื่องกันฝน ทำไมเราต้องทำเช่นนั้น ครูอาจชวนเด็กๆมายืนที่หน้าต่างมองผ่านกระจกไป เราเห็นท้องฟ้าเป็นอย่างไร บางทีการที่ให้เด็กได้สัมผัสน้ำฝนที่ไหลตามรางน้ำหรือหยดจากชายคา ทำให้เด็กสนุกสนาน ได้รู้ สึกความเย็นฉ่ำของน้ำฝน น้ำเป็นของเหลวจับไม่ได้ หลังฝนตก ครูอาจพาเด็กไปที่สนามหญ้าหรือลานดิน ดูใบไม้ที่มีหยดน้ำฝนเกาะ น้ำที่ขังในแอ่งดินหรือกอหญ้า ในอ่างน้ำอาจจะมีกบและไข่กบ

· ในฤดูหนาว ลมหนาวที่พัดโชยมา ผิวกายของเด็กสัมผัสถึงความเย็น เด็กๆจะต้องสวมเสื้อกันหนาว แตกต่างจากเสื้อกันฝน ครูอาจนำเด็กไปสำรวจรอบๆโรงเรียน ดูใบไม้บางชนิดเปลี่ยนสีใบ ท้องฟ้ามีหมอกบางๆ เด็กจะต้องนอนห่มผ้าให้อบอุ่น

· เมื่อมาถึงฤดูร้อน เด็กๆจะเห็นแสงแดดส่องทั่วสนาม การยืนกลางแสงแดดจะร้อนมากขึ้นๆ เด็กๆจะกระหายน้ำมากในช่วงฤดูร้อน การสวมเสื้อผ้าจะต้องเลือกที่เบาบาง

การสอนผ่านสภาพจริงจะเกิดประโยชน์โดยตรงที่เด็กจะรับรู้และเข้าใจการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพแข็งแรง

ครูอาจกำหนดหน่วยการสอนตามช่วงฤดูกาลของท้องถิ่น คือ ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน เด็กๆจะเรียนรู้จากกิจกรรมดังกล่าว ดังตัว อย่างต่อไปนี้

· กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

เมื่อครูให้เด็กเคลื่อนไหวพื้นฐานแล้ว เด็กสามารถเลือกลักษณะกิจกรรมเคลื่อน ไหวและจังหวะแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็ก เช่น เลียนแบบท่าทางของสัตว์ในฤดูฝน เช่น กบ ปลา การเคลื่อนไหวตามบทเพลง เช่น เพลงลมหนาว เพลงฝนตก เพลงว่าว การทำท่าทางกายบริหารตามจังหวะและทำนองเพลง หรือคำคล้องจอง ซึ่งเหมาะสมมากในช่วงฤดูหนาว เพื่อให้เด็กเกิดความอบอุ่น สบายตัว เป็นต้น

· กิจกรรมสร้างสรรค์ ระบายสีท้องฟ้าที่เด็กเห็นในแต่ละฤดูกาล ประดิษฐ์เครื่องใช้เครื่องเล่นในแต่ฤดูกาล เช่น

o ฤดูร้อน ประดิษฐ์ว่าว กังหัน จรวด พัดลม หมวกชายหาด ฯลฯ

o ฤดูฝน ประดิษฐ์ร่ม หมวกกันฝน

o ฤดูหนาว ประดิษฐ์ดอกไม้จากเศษวัสดุ ฯลฯ



กิจกรรมเสริมประสบการณ์

o ครูอาจนำเด็กไปทัศนศึกษาชายทะเล น้ำตก ในช่วงฤดูร้อน ไปสำรวจพืชและสัตว์ พื้นดิน ห้วยน้ำ รอบๆโรงเรียนและชุมชน

o ในฤดูฝน ครูมีคำถามให้เด็กสนใจและร่วมคิดว่า เด็กคิดว่าฝนไปอยู่ในอากาศได้อย่างไร หรือเป็นคำถามที่เด็กๆมักสนใจ -ถามว่า ฝนมาจากไหน เด็กจะได้ทดลองสังเกตไอน้ำที่จับตัวกัน และกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในอากาศ ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ปริมาณน้ำฝนมีต่างๆกัน เรามีความจำเป็นที่ต้องทราบว่า ฝนตกเท่าใด (ปัจจุบันเรื่องโลกร้อนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดน้ำท่วม เรื่องปริมาณน้ำจึงเป็นเรื่องที่น่า สนใจมากสำหรับเด็กๆ ที่มาจากครอบครัวที่ทำไร่ หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง)

o คำถามว่ารุ้งมาจากไหน อะไรทำให้เกิดรุ้งกินน้ำ เด็กๆจะได้ทดลองและทราบว่า แสงอาทิตย์และหยาดน้ำฝนทำให้เกิดรุ้งกินน้ำได้ ในช่วงฤดูหนาว การเกิดน้ำค้างแข็งบนยอดหญ้า

o คำถามที่น่าสนใจคือ หยดน้ำเปลี่ยนสภาพไปอย่างไรในอากาศที่เย็นจัด

กิจกรรมการทดลองจะส่งเสริมให้เด็กสนใจและรู้จักธรรมชาติ นอกจากสาระที่เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติแล้ว ครูจะบูรณาการเรื่องราวทางวัฒนธรรมที่แสดงถึง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนเราเกี่ยวข้องกับฤดูกาล เช่น เครื่องแต่งกายในแต่ละฤดูกาล อาหาร ของใช้ ของเล่น บ้านที่อยู่อาศัย สถานที่ ที่อยู่สัมพันธ์กับภูมิอากาศ สังเกตวัตถุอุปกรณ์ที่นำมาผลิต รูปแบบจะแสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เด็กอาศัยอยู่ ได้เห็นความแตกต่างและความเหมือนกับท้องถิ่นอื่น ประเทศอื่นๆ และการรักษาสภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เพื่อฤดูกาลจะเป็นปกติ

เรื่องของฤดูกาลจะสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยของเด็กปฐมวัย ครูปฐมวัยควรมีความรู้เกี่ยวกับ

· โรคที่มาในช่วงฤดูหนาว เช่น โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคสุกใส

· โรคที่มาในช่วงฤดูฝนคือ โรค มือ เท้า ปาก โรคหวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออก

· ส่วนโรคที่มาในช่วงฤดูร้อนคือ ไข้หวัดหน้าร้อน โรคอุจจาระร่วง โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน โรคอาหารเป็นพิษ เป็นต้น

ครูควรสังเกตและดูแลสภาพร่างกายของเด็ก และจัดสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนให้สะอาด ปลอดภัยจากโรค

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2558 (National Science and Technology Fair 2015)

"มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2558”
(National Science and Technology Fair 2015)
วันที่ 14-25 พฤศจิกายน 2558 ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

   ภายใต้แนวคิด“จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม” โดยรวมสุดยอดนิทรรศการและกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมทั้งในและต่างประเทศ มาจัดแสดงอย่างอลังการพลาดไม่ได้กับไฮไลท์ 4D Simulator เรือมหัศจรรย์ The Tomorrow Ship ในรูปแบบ 4D Effect สมจริงพร้อมพบกับหุ่นยนต์โรโบเทสเปียน ฮิวมานอยด์สุดอัจฉริยะและตั๊กแตนไทยชนิดใหม่ของโลกที่ค้นพบได้เฉพาะในประเทศไทย

 ประวัติความเป็นมา
เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4เป็น"พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น
"วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ"

     ในปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัด “งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ”
ขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18 - 24 สิงหาคม 2527 โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆ จนได้รับความสนใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ทำให้คณะรัฐมนตรีเล็งเห็นความสำคัญ และเมื่อวันที่ 3กันยายน 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งภาครัฐและเอกชนจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” โดยดำเนินการจัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ" เป็นประจำทุกปี
นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรีกำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปีเป็น“วันเทคโนโลยีของไทย”
เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”
         ต่อมา การจัดงาน “สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ในส่วนกลาง ที่กรุงเทพมหานคร ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆทั้งจากภาครัฐ เอกชน เป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีการเพิ่มเติมกิจกรรม รูปแบบการจัดงาน ให้มีความยิ่งใหญ่ อีกทั้งได้รับความสนใจจากนักเรียน เยาวชน และประชาชนทั่วไปเข้าชมงานเป็นจำนวนมาก ดังนั้นนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติจึงได้จัดงาน “สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ในส่วนกลาง ที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้ชื่อว่า มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ





















วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

RESEARCH CONCLUSION ; Promoting thinking skills of pre-school children through scientific activities

สรุปงานวิจัย  RESEARCH CONCLUSION
การส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ = Promoting thinking skills of pre-school children through scientific activities
ชื่องานวิจัย :  การส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์
ผู้จัดทำ : สุนดา เภาศรี
ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทที่ 1 บทนำ
 ในปัจจุบันคุณครูมุ่งเน้นสอนแต่เนิ้อหาสาระให้กับเด็ก ใช้ประสบการณ์เดิมๆ  ทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายในกระบวนการเรียนรู้  เรียนไม่สนุก ไม่มีความสุข ขาดโอกาสในการแสวงหาความรู้  ขาดสื่อและแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหา และขาดโอกาสในการลงมือทำด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้ ทำให้ผู้ศึกษาพบปัญหาเด็กปฐมวัย ขาดทักษะการคิด แก้ไขปัญหาไม่เป็น สรุปความคิดรวบยอดต่างๆไม่ได้ และไม่รู้จักแสวงหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ 

วัตถุประสงค์ของการศึกษา 
 1. เพื่อศึกษาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาตร์ 
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดเปรียบเทียบและคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยระหว่างเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์
ขอบเขตการศึกษา 



บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านวังทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 จำนวน 23 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 
1.แผนการจัดประสบการณ์ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กประถมวัย โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย หน่วยการเรียนรู้จำนวน 5 หน่วย หน่วยละ 5 แผนได้แก่ หน่วยปีเสื้อ หน่วยสัตว์เลี้ยง หน่วยผักและหน่วยมด รวมทั้งสิ้น 25 แผน และแบบฝึกหัดระหว่างเรียนจำนวน 4 ตอน 
2.แบบทดสอบทักษะการคิดจำนวน 1 ฉบับมี 4 ตอนประกอบด้วย แบบทดสอบทักษะการคิดคล่อง จำนวน 5 ข้อ การคิดหลากหลาย จำนวน 9 ข้อ การคิดเปรียบเทียบจำนวน 5ข้อ การคิดแก้ปัญหา จำนวน 5 ข้อรวมทั้งสิ้น 24 ข้อ

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปได้ว่าเด็กประถมวัยมีทักษะการคิดโดยรวมสูงขึ้นหลังจากการเรียนโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์


บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา ผลการศึกษาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย ผลปรากฏว่าเด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดโดยรวมสูงขึ้นหลังจากการเรียนโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ 
2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยวัย พบว่าเด็กปฐมวัยทุกคน มีค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนทักษะ การคิด ระหว่างเรียนและหลังเรียนทุกด้านผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60% 
ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งถัดไป  
1. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย ทักษะการคิดวิจารณญาณและทักษะการคิดที่สำคัญด้านอื่นๆ 
2 ในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาเกี่ยวกับทักษะการคิดของเด็กประถมวัยโดยใช้สื่อของเล่นพื้นบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาทักษะการคิด












วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 15 Tuesday 24 November , 2558

Diary No. 15 ,  Science Experiences Management for Early childhood

Instructor Jintana suksumran Tuesday 24 November , 2558 Time : 13.30 - 17.30 PM. Gruop 102.




   Knowledge.

  • เพื่อนสรุปงานวิจัยและโทรทัศน์ครู
    เลขที่ 15 นำเสนองานวิจัย
      ชื่องานวิจัย : ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
      ชื่อผู้วิจัย : สำรวย  สุขชัย
      มหาวิทยาลัย : ศรีนครินทรวิโรฒ



     เลขที่ 24 นำเสนองานวิจัย

        ชื่องานวิจัย : การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
      ชื่อผู้วิจัย : ชยุดา  พยุวงษ์
      มหาวิทยาลัย : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
    สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย ตุลาคม 2551 


      เลขที่25 นำเสนอโทรทัศน์ครู
       เรื่อง : สอนปฐมวัยด้วยธรรมชาติผสานวิถีพุทธ
       ตอนที่ 4 : นวัตกรรม(innovation) มาทาลโปรแกรม 
       โดย : คุณครู ชลธิชา  หงษ์ษา
        โรงเรียน : สยามสามไตร


                                 


Assessment.


Skills. (ทักษะที่ได้รับ)
  • การคิดวิเคราะห์
  • ทักษะด้สนการตอบคำถาม
  • ทักษะการฟัง

Apply. ( การนำไปใช้)


  • นำความรู้ที่เพื่อนนำเสนอ ทั้งจากวิจัย โทรทัศน์ครู บทความ นำมาเป็นแนวทางและวิธีการสอนได้อนาคต และในวิจัยจะมีแผนกิจกรรม วิธีการดำเนินงาน ถ้าเราสนใจ เราก็สามารถไปศึกษาได้ในบล็อคของเพื่อน

Self-Assessment. (ประเมินตนเอง)

  • มาก่อนเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังทั้งเพื่อนและอาจารย์  เวลาอาจารย์สรุปองค์ความรู้ ก็จะจดไว้ ถ้าฟังไมาทันก็จะใช้วิธีการอัดเสียงไว้แล้วนำมาจดบันบันทึกเป็นบันทึกอนุทินอีกที
Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

  • เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีมาก  ตั้งใจฟังเอาจารย์และเพื่อนเวลาอธิบาย ตั้งใจเรียน แต่มีคุยกันบ้างเล็กน้อย พออาจารย์เตือนก็กลับเข้ามาสู่บทเรียนได้เช่นเดิม

Teacher-Assessment. (ประเมินครู)

  • เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมสำหรับการสอน อาจารย์มีความพยายามในการอธิบาย และซักถามผู้ที่ออกมานำเสนองานหน้าชั้น เช่น เป็นยังไง เขามีวิธีการสอนยังไง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร แผนการจัดกิจกรรมเป็นอย่างไร มีการจี้เป็นจุดๆไป เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน 


Diary No. 14 Tuesday 17 November , 2558

Diary No. 14 ,  Science Experiences Management for Early childhood

Instructor Jintana suksumran Tuesday 17 November , 2558 Time : 13.30 - 17.30 PM. Gruop 102.




  Knowledge.
  • การทำ COOKING ขนมบัวลอย บลูเบอร์รี่ชีสพาย และ ไอศกรีม
 การทำบัวลอย แบ่งออกเป็น 3 ฐาน ได้แก่
    ฐานที่ 1  ผสมแป้งและสีผสมอาหารเข้าด้วยกัน

  ฐานที่ 2 ปั้นแป้งขนมบัวลอย ให้เป็นลูกเล็กๆ พอประมาณ 


   ฐานที่ 3 นำแป้งขนมบัวลอย ที่ปั้นเสร็จแล้ว นำมาต้มในน้ำที่เดือด เมื่อบัวลอยสุก บัวลอยก็จะลอยขึ้น ให้เราตักขึ้นมาสะเด็ดน้ำ แล้วนำไปใส่ในน้ำกะทิที่เตรียมไว้ 




    การทำบลูเบอร์รี่ชีสพาย  แบ่งออกเป็น 3 ฐาน ได้แก่
      ฐานที่ 1  นำโอริโอ้มาบดให้ละเอียด 

     ฐานที่ 2  นำครีมชีสมาตีให้ขึ้นฟู และใส่น้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย และผสมโยเกิร์ตรสธรรมชาติ ตีจนฟูเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน



   ฐานที่ 3 นำบลูเบอร์มาโรยหน้าตกแต่งแก้วบลูเบอร์รี่ชีสพายตามใจชอบ

   


      การทำไอศกรีม : แบ่งเพื่อนเป็นกลุ่มและทำไปพร้อมๆกัน กลุ่มละ  4-5 คน
         อุปกรณ์และวัตถุดิบ : มีดังนี้
        1.นมสด    2.นมข้นหวาน   3.วิปปิ้งครีม   4.เกลือ   5.ถุงซิปล็อค ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ 
        6.  น้ำแข็ง   7.  ตะกร้อตีไข่  8.  ท็อปปิ้ง   9.  ถ้วยสำหรับผสม


   ขั้นตอนในการทำไอศกรีม 
  
    ขั้นที่ 1 : แนะนำอุปกรณ์  และวัตถุดิบในการทำไอศกรีม และบอกวิธีการทำไอศกรีม 


     ขั้นที่ 2 : แจกอุปกรณ์ให้แต่ละกลุ่ม และเทนมสดกับนมข้นหวานลงในถ้วย ตีให้เข้ากัน 

    ขั้นที่ 3 ใส่เกลือลงไปเล็กน้อยปลายช้อน 


   
     
      ขั้นที่4  ใส่วิปปิ้งครีม และ คนให้เข้ากัน

     ขั้นที่5 เทส่วนผสมทั้งหมดลงในถุงซิปล็อคขนาดเล็ก

   ขั้นที่6 เอาน้ำแข็งใส่ในถุงซิปล็อคขนาดใหญ่ และใส่เกลือลงไปเยอะๆ


       ขั้นที่7  เอาถุงซิปล็อคขนาดเล็กใส่ลงไปในถุงใหญ่ และเขย่าอย่างต่อเนื่อง 
   
       ขั้นที่8 เมื่อเราได้ไอศกรีมที่แข็งตัวแล้ว ในเปิดถุงและตักแบ่งลงใส่ในถ้วย

       ขั้นที่9 เมื่อได้ไอศรีมแล้วก็แต่งหน้าตามใจชอบ
ไอศกรีมของกฤษณี > <



                                      


      Assessment.


Skills. (ทักษะที่ได้รับ)
  • ได้ลงมือทำCOOKINGด้วยตนเอง 
  • ได้การเชื่อมโยงหลักการทางวิทยาศาสตร์และนำหลักการวิทยาศาสตร์มาใช้ในการทำCOOKING
  • การสรุปกิจกรรม และ การยกตัวอย่าง

Apply. ( การนำไปใช้)

สามารถนำไปใช้ในการ การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้  ทำให้เด็กๆได้เห็นขั้นตอนที่ชัดเจน และได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง 

Self-Assessment. (ประเมินตนเอง)

  • มาก่อนเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟัง และเวลาทำCOOKINGก็ตั้งใจทำอย่างดี  และจดสรุปจากความรู้ที่อาจารย์มอบให้ ได้คำแนะนำจากอาจารย์เวลาทำกิจกรรม

Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

  • เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีมาก  ตั้งใจฟังเอาจารย์และเพื่อนเวลาอธิบายถึงการทำCOOKING พอถึงเวลาทำกิจกรรมกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็ช่วยกันทำ  ไม่คุยเสียงดัง ไม่วุ่นวาย 

Teacher-Assessment. (ประเมินครู)

  • เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมสำหรับการสอน มีการเตรียมอุปกรณ์ในการทำCOOKING ให้กับนักศึกษา อาจารย์ปล่อยให้นักศึกษาลงมือทำกันเอง แต่คอยดูและแนะนำว่าควรทำอย่างไร ทำให้นักศึกษามีอิสระในการเรียนรู้