วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 8 Tuesday 6 October , 2558

Diary No. 8 ,  Science Experiences Management for Early childhood

Instructor Jintana suksumran Tuesday 6 October , 2558 Time : 13.30 - 17.30 PM.





Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

นักศึกษานำเสนองานของเล่นที่ตนเองได้ประดิษฐ์ขึ้น เรื่องพลังงาน

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)
  อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอชิ้นงานของตนเอง โดยดิฉันได้หัวข้อ พลังงาน
จึงทำ รถยางยืดพลังงานศักย์






    วิธีการทำ   

 วัสดุที่ใช้
1.ขวดน้ำพลาสติก หรือกล่องกระดาษแข็ง
2.หนังยาง
3.ฝาขวดน้ำ 4 ฝา (สำหรับทำเป็นล้อรถ)
4.ตะปู หรือคัทเตอร์ สำหรับเจาะรูฝาขวดน้ำ
5.ไม้เสียบลูกชิ้น จำนวน 4 อัน

   ขั้นตอนการทำ
1.นำขวดพลาสติกหรือกล่องกระดาษมาเจาะรู้ตรงกลางขนาดใหญ่



2. ใช้ตะปูหรือคัทเตอร์เจาะรูที่ฝาขวดน้ำทั้ง4ฝา แล้วนำมาเสียบใส่ไม้เสียบลูกชิ้น



3. เจาะรูทีกล่องพลาสติกหรือขวดน้ำทั้ง 4 มุม เพื่อเอาไว้เสียบไม้ลูกชิ้น



4. ใช้หนังยางมัดกับไม้ทั้ง2ด้านของฝาน้ำ เพื่อล็อคฝาขวดน้ำให้แน่นเจาะ


5. เจาะรูด้านบนฝาขวดน้ำ และนำเศษไม้เล็กๆมาพันกับหนังยางให้แน่น 
6. นำหนังยางที่พันกับเศษไม้ ยัดลงในฝาขวดน้ำที่เจาะรูไว้ด้านบน


7. ต่อหนังยางจากฝาขวดน้ำด้านบนให้ยาวถึงล้อหลังแล้วมัดกับล้อหลัง


         วิธีการเล่น

•หมุนล้อหลังให้ยางตึงแล้วปล่อย รถก็จะเคลื่อนที่ได้เล็กน้อย



     ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์

เด็กได้เรียนรู้ในเรื่อง พลังงานศักย์ (ศักย์ยืดหยุ่น)

เด็กสามารถประดิษฐ์ของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตนเอง


  Assessment.


Skills (ทักษะที่ได้รับ)

-ได้รู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ว่ามีอยู่รอบตัวเรา เช่น พลังงานลม แรงโน้มถ่วง แรงดึงดูด ซึ่งเพืื่อนแต่ละคนก็ได้หัวข้อที่แตกต่างกันไป และประดิษฐ์ของเล่นมาหลากหลายไม่ซ้ำกันเลย


Apply ( การนำไปใช้)

-สามารถนำไปใช้ในการบูรณาการเข้ากับชั้นเรียนของเด็กปฐมวัย และยังได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อีกด้วย และยังได้รู้วิธีการทำของเล่นของเพื่อนแต่ละคน เผื่อเวลาที่เราสนใจ จะได้นำมาทำเป็นสื่อการสอนได้

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

-เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก ตั้งใจฟังอาจารย์สรุป และตั้งใจฟังเพื่อนบรรยายเวลานำเสนอ  ม่ีคุยกันบ้างเล็กน้อย  สภาพอากาศเย็นดี เพราะเครื่องปรับอากาศ
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)

- มาก่อนเวลา มาเตรียมนำเสนอ เตรียมไฟล์งานโหลดลงคอม เพื่อใช้ในการนำเสนอ มีการตอบคำถามกับอาจารย์ผู้สอน และมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

-เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และทำกิจกรรมดีมาก  ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองาน พอถึงเวลาทำงานแต่ละคนก็ต่างทำงานของตนเอง พออาจารย์ให้จดบันทึก เพื่อนก็ตั้งใจจดบันทึกของตนเอง ไม่คุยเสียงดัง เวลาอาจารย์ถาม เพื่อนก็ตั้งใจตอบคำถาม
Teacher-Assessment (ประเมินครู)

-เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมสำหรับการสอน มีการเตรียมอุปกรณ์ เตรียมคำถาม และสนใจเวลานักศึกษานำเสนองาน คอยให้คำชี้แนะเป็นรายบุคคล เพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงในครั้งถัดไป


วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 7 Tuesday 22 September , 2558

Diary No. 7 ,  Science Experiences Management for Early childhood

Instructor Jintana suksumran Tuesday 22 September , 2558 Time : 13.30 - 17.30 PM.





Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

 ข้อคำนึงในการออกแบบกิจกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
 เวลาจัดเนื้อหา ต้องจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการ
การจัดประสบการณ์ ต้องมีวิธีการจัดให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคือ 
   พัฒนาการ หมายถึง ลำดับของการเปลี่ยนแปลงหรือกระบวนการเปลี่ยนแปลง
(process of change) ของมนุษย์ทุกส่วนที่ต่อเนื่องกันไปในระยะเวลาหนึ่ง ๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต การเปลี่ยนแปลงนี้จะก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ เป็นขั้น ๆ จากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่งเพื่อที่จะไปสู่วุฒิภาวะ ทำให้มีลักษณะและความสามารถใหม่ๆเกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นตามลำดับ

วิธีการเรียนรู้ของเด็ก 
  เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเล่น ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กายสัมผัส  ถ้าเด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรูัที่ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



Assessment.

Skills (ทักษะที่ได้รับ)

-ได้รู้เกี่ยวกับข้อคำนึงในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก  และได้รับทักษะการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถาม


Apply ( การนำไปใช้)

-สามารถนำไปใช้ในการบูรณาการเข้ากับชั้นเรียนของเด็กปฐมวัย และยังได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อีกด้วย และยังได้รู้หลักในการพัฒนาเด็กของแต่ละนักการศึกษา เพื่อจะได้นำไปเป็นแบบอย่างในการจัดกิจกรรมให้เด็กในอนาคตอันใกล้นี้

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

-เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก ตั้งใจฟังอาจารย์ ม่ีคุยกันบ้างเล็กน้อย  สภาพอากาศเย็นดี เพราะเครื่องปรับอากาศ
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)

- มาสายกว่าเวลาเรียน 5 นาที มีการกล้าตอบคำถามกับอาจารย์ผู้สอนมากขึ้น
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

-เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และทำกิจกรรมดีมาก  พอถึงเวลาทำงานแต่ละคนก็ต่างทำงานของตนเอง พออาจารย์ให้จดบันทึก เพื่อนก็ตั้งใจจดบันทึกของตนเอง ไม่คุยเสียงดัง
Teacher-Assessment (ประเมินครู)

-เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมสำหรับการสอน มีการเตรียมอุปกรณ์ เตรียมสื่อมาอย่างดี มีการใช้เทคโนโลยีสื่อการสอน(Powerpoint)ที่คล่องแคล่ว และสวยงาม
มีการมอบหมายงายให้แก่นักศึกษาอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 6 Tuesday 15 September , 2558

Diary No. 6 ,  Science Experiences Management for Early childhood

Instructor Jintana suksumran Tuesday 15 September , 2558 Time : 13.30 - 17.30 PM.


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

-ทบทวนความรู้เดิมเรื่อง การทำงานของสมอง
การทำงานของสมอง คือ พัฒนาการที่นำมาจัดเป็นลำดับขั้นของการเรียนรู้ คือ พฤติกรรมวิธีการเรียนรู้และจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสามารถและพัฒนาการ

เด็กขั้นอนุรักษ์ เริ่มมีเหตุผล
เด็ก 1-2ปี เรียนรู้ผ่าน sensorimoter (ประสาทสัมผัสทั้ง 5)

หลักการและแนวคิดของนักการศึกษา

-ฟรอเบล (Froeble) เชื่อว่า ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็ก  ด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อย่างเสรี  การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก : ให้เด็กมีกิจกรรมอย่างเสรี โดยการจัดกิจดกรรมการเรียนรู้ผ่านการเล่นเสรี

-เพียเจต์ เชื่อว่า เด็กจะเกิดการเรียนรู้ เมื่อมีปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม
การจัดกิจกรรม  ฝึกให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

-เอลคายน์ (Elkind) เชื่อว่า การเร่งให้เด็กเรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก , เด็กควรมีโอกาสเล่นแดละเลือกกิจกรรมดารเล่นด้วยตนเเอง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก : จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตัวเอง

-อิริคสัน เชื่อว่า ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เด็กจะประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี ไว้วางใจผู้อื่น มีปฏิสัมพันธ์กับสังคม

-ดิวอี้ เชื่อว่า เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ Learning by doing.

-สกินเนอร์ เชื่อว่า การให้แรงเสริมกับเด็ก เช่นการชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมได้สำเร็จ เป็นสิ่งที่ดี

-เปสตาลอสซี่  (Pestalozzi) เชื่อว่า ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญ และจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา  , เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจ และ ความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน , เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก : จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรัก  ให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์

ความหมายของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์หมายถึง การศึกษาสืบค้น และจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่ประกอบด้วยวิธีการ ทักษะกระบวนการ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผน มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป


แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1. การเปลี่ยนแปลง
2. ความแตกต่าง
3. การปรับตัว
4. การพึ่งพาอาศัยกัน
5. ความสมดุล


การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์

1. ขั้นกำหนดปัญหา
2. ขั้นตั้งค่าสมมติฐาน
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นลงข้อสรุป


เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1. ความอยากรู้อยากเห็น
2. ความเพียรพยายาม
3. ความมีเหตุผล
4. ความซื่อสัตย์
5. ความมีระเบียบและรอบคอบ
6. ความใจกว้าง


การเรียนรู้อย่างมีความสุข
- การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
- การเรียนรู้แบบองค์รวมที่ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน
- การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
- การเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
- พัฒนาทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การสรุปความคิดรวบยอด การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
- กิจกรรมโครงการ กิจกรรมประจำวัน การเล่น กิจกรรมการทดลอง กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ กิจวัตรประจำวัน ฯลฯ


การเรียนรู้แบบองค์รวม

- กิจกรรมที่จัดสอดคล้องกับประสบการณ์ที่ได้รับ
- ครูผู้สอนหรือผู้ดูแล เด็กควรหลอมรวมหรือเชื่อมโยงความรู้ประสบการณ์
- ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้านทั้งทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา
- ประสบการณ์ต่างๆ สัมพันธ์กันในลักษณะบูรณาการ


สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเอง และอยู่ร่วมกับผู้อืื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุล ยึดเด็กเป็นสำคัญ และต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน

Assessment

Skills (ทักษะที่ได้รับ)

-ได้รู้เกี่ยวกับทฤษฏีของนักการศึกษา รู้แนวคิดและหลักการทำให้เราเข้าใจหลักการและเนื้อหามากขึ้น และได้รับทักษะการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถาม


Apply ( การนำไปใช้)

-สามารถนำไปใช้ในการบูรณาการเข้ากับชั้นเรียนของเด็กปฐมวัย และยังได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อีกด้วย และยังได้รู้หลักในการพัฒนาเด็กของแต่ละนักการศึกษา เพื่อจะได้นำไปเป็นแบบอย่างในการจัดกิจกรรมให้เด็กในอนาคตอันใกล้นี้

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

-เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก พยายามนั่งเรียน(กับพื้น) ตั้งใจฟังอาจารย์ สภาพแวดล้อมห้องเรียนไม่เอื้ออำนวยสักเท่าไหร่ แต่สภาพอากาศเย็นดี เพราะเครื่องปรับอากาศ
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)

- มาก่อนเวลาเรียน มานั่งรออาจารย์ในห้องเรียน มีการกล้าตอบคำถามกับอาจารย์ผู้สอนมากขึ้น
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

-เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และทำกิจกรรมดีมาก  พอถึงเวลาทำงานแต่ละคนก็ต่างทำงานของตนเอง พออาจารย์ให้จดบันทึก เพื่อนก็ตั้งใจจดบันทึกของตนเอง ไม่คุยเสียงดัง
Teacher-Assessment (ประเมินครู)

-เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมสำหรับการสอน มีการเตรียมอุปกรณ์ เตรียมสื่อมาอย่างดี มีการใช้เทคโนโลยีสื่อการสอน(Powerpoint)ที่คล่องแคล่ว และสวยงาม

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 5 , Tuesday 8 September , 2558

Diary No. 5 ,  Science Experiences Management for Early childhood

Instructor Jintana suksumran Tuesday 8 September , 2558 Time : 13.30 - 17.30 PM.



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
     ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นไปตามลำดับขั้น ดังนี้

1 . ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
- ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี 
พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก

2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) 
ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น  คือ
 2.1 ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) 
เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
2.2 ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) 
เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ  รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน

3 .ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) 
ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล

4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) 
เด็กในนี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคน ทำหิจกรรม พับกระดาษเป็นสิ่งของ แต่ให้เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ (ข้าพเจ้าพับว่าว)






  Assessment.

Skills (ทักษะที่ได้รับ)

-ได้รู้เกี่ยวกับทฤษฏีของนักทฤษฎี และได้รับทักษะการคิด จากกิจกรรมพับกระดาษ


Apply ( การนำไปใช้)

-สามารถนำไปใช้ในการบูรณาการเข้ากับชั้นเรียนของเด็กปฐมวัย และยังได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อีกด้วย

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

-เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก พยายามนั่งเรียน(กับพื้น) ตั้งใจฟังอาจารย์ สภาพแวดล้อมห้องเรียนไม่เอื้ออำนวยสักเท่าไหร่
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)

- มาก่อนเวลาเรียน มานั่งรออาจารย์ในห้องเรียน
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

-เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และทำกิจกรรมดีมาก  พอถึงเวลาทำงานแต่ละคนก็ต่างทำงานของตนเอง ไม่มีเสียงคุยกันเลย
Teacher-Assessment (ประเมินครู)

-เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมสำหรับการสอน มีการเตรียมอุปกรณ์ เตรียมสื่อมาอย่างดี