วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทความวิทยาศาสตร์ สอนลูกเรื่องฤดูกาล (Teaching Children about Seasons)

บทความวิทยาศาสตร์ สอนลูกเรื่องฤดูกาล (Teaching Children about Seasons)





ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

      การสอนลูกเรื่องฤดูกาล (Teaching Children about Seasons) 

หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึง การแบ่งช่วงเวลาในหนึ่งปีตามสภาพอากาศ แต่ละฤดูกาลจะมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันไป เกิดขึ้นจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ความร้อนจากดวงอาทิตย์ การระเหยของน้ำบนผิวโลก และการเคลื่อนที่ของอากาศ ในแต่ละภูมิภาคจะมีช่วงฤดู กาลแตกต่างกัน สำหรับประเทศไทยมี 3 ฤดูกาลคือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ฤดูกาลเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นในโลกนี้ เด็กจึงควรรู้จักและเข้าใจสภาพธรรมชาติของฤดูกาล เพื่อได้อยู่อย่างมีความสุขกับธรรมชาติ

การสอนเรื่อง ฤดูกาลมีความสำคัญอย่างไร 

การสอนเรื่องฤดูกาลสำคัญดังนี้

- เรื่องฤดูกาลเป็นเรื่องธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์กับคนเราเสมอ จึงควรสอนความรู้ให้แก่เด็ก

- ความเป็นธรรมชาติเป็นเรื่องของเหตุและผล จึงสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กสนใจ สืบค้นเรื่องราวที่เกี่ยว ข้องกับฤดูกาลเพื่อต่อยอดได้ต่อไป

- การเรียนเรื่องใดๆเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนช่างคิด ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ควรปลูกฝังให้แก่เด็กปฐมวัย

- นิสัยของเด็กปฐมวัยจะชอบสำรวจธรรมชาติ ดังนั้น การเรียนเรื่องฤดูกาลเป็นการตอบสนองความสนใจให้แก่เด็ก

การสอนเด็กเรื่องฤดูกาลมีความสำคัญอย่างไร ?

การสอนเรื่องฤดูกาลมีประโยชน์ต่อเด็ก ดังนี้

· เด็กจะมีความเข้าใจเรื่องของธรรมชาติของฤดูกาล เช่น เมื่อฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้ามืด ความหนาวเย็น ความร้อน ต่างมีเหตุที่มา เมื่อเข้าใจ เด็กจะมีความสุขที่จะอยู่กับธรรมชาติเหล่านี้

· เด็กได้ตระหนักรู้ความสัมพันธ์ของฤดูกาลกับการดำรงชีวิตของตนเอง เช่น การเลือกเครื่องใช้ กินอาหาร การเดิน ทาง การรักษาสุขภาพ การเล่น การออกกำลังกาย ฯลฯให้สอดคล้องกับสภาพของอากาศในฤดูกาลนั้นๆ

· เด็กจะเกิดแรงบันดาลใจที่จะเรียนรู้เรื่องอื่นๆต่อยอดจากเรื่องฤดูกาลไปได้อีก เช่น เรื่องการรักษาสุขภาพให้แข็ง แรง ปลอดภัยจากโรคต่างๆที่เกิดขึ้นให้แต่ละฤดูกาล

· เด็กจะได้รับการพัฒนาการสติปัญญาตามวัย เด็กได้รับการส่งเสริมให้ใช้ประสาทสัมผัส ในขณะทำกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับฤดูกาล เช่นการสัมผัสน้ำฝน การมอง เห็นรุ้งกินน้ำ การสัมผัสดินแฉะหลังฝนตก

· การพัฒนาการทางอารมณ์จะได้รับการตอบสนองตามวัย เด็กจะมีความสุข ได้เรียนในสิ่งที่ชอบ จะเกิดความสนใจที่จะเรียน

· เด็กได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาทักษะด้านการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ในขณะทำกิจกรรมเกี่ยวกับฤดู กาล เช่น การทดลองการเกิดฝน การทดลองการเกิดรุ้งกินน้ำ การออกสำรวจสภาพดิน น้ำหลังฝนตก เป็นต้น

· เด็กจะได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพให้เป็นคนช่างสังเกต มีเหตุผล สามารถปรับตัวได้ และรักสิ่งแวดล้อม พร้อมร่วมมือรักษาสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ เนื่องจากเป็นทรัพยากรส่วนรวม เป็นต้น

ครูควรสอนเรื่องฤดูการอย่างไร ?

ในช่วงปีหนึ่งๆ มีฤดูกาลเกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง และแตกต่างไปตามสภาพแต่ละท้องถิ่น ครูจะจัดกิจ กรรมในชีวิตประจำวัน ให้เด็กได้สังเกตผ่านประสาทสัมผัสโดยตรง เช่น

· ช่วงฤดูฝนจะมีฝนตกติดต่อกันทั้งวัน การสนทนาของครูและเด็กเริ่มตั้งแต่เช้า ด้วยคำถามชวนให้สังเกตและคิดว่า เราแต่งกายอย่างไร เราใช้อะไรเป็นเครื่องกันฝน ทำไมเราต้องทำเช่นนั้น ครูอาจชวนเด็กๆมายืนที่หน้าต่างมองผ่านกระจกไป เราเห็นท้องฟ้าเป็นอย่างไร บางทีการที่ให้เด็กได้สัมผัสน้ำฝนที่ไหลตามรางน้ำหรือหยดจากชายคา ทำให้เด็กสนุกสนาน ได้รู้ สึกความเย็นฉ่ำของน้ำฝน น้ำเป็นของเหลวจับไม่ได้ หลังฝนตก ครูอาจพาเด็กไปที่สนามหญ้าหรือลานดิน ดูใบไม้ที่มีหยดน้ำฝนเกาะ น้ำที่ขังในแอ่งดินหรือกอหญ้า ในอ่างน้ำอาจจะมีกบและไข่กบ

· ในฤดูหนาว ลมหนาวที่พัดโชยมา ผิวกายของเด็กสัมผัสถึงความเย็น เด็กๆจะต้องสวมเสื้อกันหนาว แตกต่างจากเสื้อกันฝน ครูอาจนำเด็กไปสำรวจรอบๆโรงเรียน ดูใบไม้บางชนิดเปลี่ยนสีใบ ท้องฟ้ามีหมอกบางๆ เด็กจะต้องนอนห่มผ้าให้อบอุ่น

· เมื่อมาถึงฤดูร้อน เด็กๆจะเห็นแสงแดดส่องทั่วสนาม การยืนกลางแสงแดดจะร้อนมากขึ้นๆ เด็กๆจะกระหายน้ำมากในช่วงฤดูร้อน การสวมเสื้อผ้าจะต้องเลือกที่เบาบาง

การสอนผ่านสภาพจริงจะเกิดประโยชน์โดยตรงที่เด็กจะรับรู้และเข้าใจการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพแข็งแรง

ครูอาจกำหนดหน่วยการสอนตามช่วงฤดูกาลของท้องถิ่น คือ ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน เด็กๆจะเรียนรู้จากกิจกรรมดังกล่าว ดังตัว อย่างต่อไปนี้

· กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

เมื่อครูให้เด็กเคลื่อนไหวพื้นฐานแล้ว เด็กสามารถเลือกลักษณะกิจกรรมเคลื่อน ไหวและจังหวะแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็ก เช่น เลียนแบบท่าทางของสัตว์ในฤดูฝน เช่น กบ ปลา การเคลื่อนไหวตามบทเพลง เช่น เพลงลมหนาว เพลงฝนตก เพลงว่าว การทำท่าทางกายบริหารตามจังหวะและทำนองเพลง หรือคำคล้องจอง ซึ่งเหมาะสมมากในช่วงฤดูหนาว เพื่อให้เด็กเกิดความอบอุ่น สบายตัว เป็นต้น

· กิจกรรมสร้างสรรค์ ระบายสีท้องฟ้าที่เด็กเห็นในแต่ละฤดูกาล ประดิษฐ์เครื่องใช้เครื่องเล่นในแต่ฤดูกาล เช่น

o ฤดูร้อน ประดิษฐ์ว่าว กังหัน จรวด พัดลม หมวกชายหาด ฯลฯ

o ฤดูฝน ประดิษฐ์ร่ม หมวกกันฝน

o ฤดูหนาว ประดิษฐ์ดอกไม้จากเศษวัสดุ ฯลฯ



กิจกรรมเสริมประสบการณ์

o ครูอาจนำเด็กไปทัศนศึกษาชายทะเล น้ำตก ในช่วงฤดูร้อน ไปสำรวจพืชและสัตว์ พื้นดิน ห้วยน้ำ รอบๆโรงเรียนและชุมชน

o ในฤดูฝน ครูมีคำถามให้เด็กสนใจและร่วมคิดว่า เด็กคิดว่าฝนไปอยู่ในอากาศได้อย่างไร หรือเป็นคำถามที่เด็กๆมักสนใจ -ถามว่า ฝนมาจากไหน เด็กจะได้ทดลองสังเกตไอน้ำที่จับตัวกัน และกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในอากาศ ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ปริมาณน้ำฝนมีต่างๆกัน เรามีความจำเป็นที่ต้องทราบว่า ฝนตกเท่าใด (ปัจจุบันเรื่องโลกร้อนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดน้ำท่วม เรื่องปริมาณน้ำจึงเป็นเรื่องที่น่า สนใจมากสำหรับเด็กๆ ที่มาจากครอบครัวที่ทำไร่ หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง)

o คำถามว่ารุ้งมาจากไหน อะไรทำให้เกิดรุ้งกินน้ำ เด็กๆจะได้ทดลองและทราบว่า แสงอาทิตย์และหยาดน้ำฝนทำให้เกิดรุ้งกินน้ำได้ ในช่วงฤดูหนาว การเกิดน้ำค้างแข็งบนยอดหญ้า

o คำถามที่น่าสนใจคือ หยดน้ำเปลี่ยนสภาพไปอย่างไรในอากาศที่เย็นจัด

กิจกรรมการทดลองจะส่งเสริมให้เด็กสนใจและรู้จักธรรมชาติ นอกจากสาระที่เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติแล้ว ครูจะบูรณาการเรื่องราวทางวัฒนธรรมที่แสดงถึง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนเราเกี่ยวข้องกับฤดูกาล เช่น เครื่องแต่งกายในแต่ละฤดูกาล อาหาร ของใช้ ของเล่น บ้านที่อยู่อาศัย สถานที่ ที่อยู่สัมพันธ์กับภูมิอากาศ สังเกตวัตถุอุปกรณ์ที่นำมาผลิต รูปแบบจะแสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เด็กอาศัยอยู่ ได้เห็นความแตกต่างและความเหมือนกับท้องถิ่นอื่น ประเทศอื่นๆ และการรักษาสภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เพื่อฤดูกาลจะเป็นปกติ

เรื่องของฤดูกาลจะสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยของเด็กปฐมวัย ครูปฐมวัยควรมีความรู้เกี่ยวกับ

· โรคที่มาในช่วงฤดูหนาว เช่น โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคสุกใส

· โรคที่มาในช่วงฤดูฝนคือ โรค มือ เท้า ปาก โรคหวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออก

· ส่วนโรคที่มาในช่วงฤดูร้อนคือ ไข้หวัดหน้าร้อน โรคอุจจาระร่วง โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน โรคอาหารเป็นพิษ เป็นต้น

ครูควรสังเกตและดูแลสภาพร่างกายของเด็ก และจัดสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนให้สะอาด ปลอดภัยจากโรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น