วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

RESEARCH CONCLUSION ; Promoting thinking skills of pre-school children through scientific activities

สรุปงานวิจัย  RESEARCH CONCLUSION
การส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ = Promoting thinking skills of pre-school children through scientific activities
ชื่องานวิจัย :  การส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์
ผู้จัดทำ : สุนดา เภาศรี
ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทที่ 1 บทนำ
 ในปัจจุบันคุณครูมุ่งเน้นสอนแต่เนิ้อหาสาระให้กับเด็ก ใช้ประสบการณ์เดิมๆ  ทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายในกระบวนการเรียนรู้  เรียนไม่สนุก ไม่มีความสุข ขาดโอกาสในการแสวงหาความรู้  ขาดสื่อและแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหา และขาดโอกาสในการลงมือทำด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้ ทำให้ผู้ศึกษาพบปัญหาเด็กปฐมวัย ขาดทักษะการคิด แก้ไขปัญหาไม่เป็น สรุปความคิดรวบยอดต่างๆไม่ได้ และไม่รู้จักแสวงหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ 

วัตถุประสงค์ของการศึกษา 
 1. เพื่อศึกษาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาตร์ 
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดเปรียบเทียบและคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยระหว่างเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์
ขอบเขตการศึกษา 



บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านวังทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 จำนวน 23 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 
1.แผนการจัดประสบการณ์ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กประถมวัย โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย หน่วยการเรียนรู้จำนวน 5 หน่วย หน่วยละ 5 แผนได้แก่ หน่วยปีเสื้อ หน่วยสัตว์เลี้ยง หน่วยผักและหน่วยมด รวมทั้งสิ้น 25 แผน และแบบฝึกหัดระหว่างเรียนจำนวน 4 ตอน 
2.แบบทดสอบทักษะการคิดจำนวน 1 ฉบับมี 4 ตอนประกอบด้วย แบบทดสอบทักษะการคิดคล่อง จำนวน 5 ข้อ การคิดหลากหลาย จำนวน 9 ข้อ การคิดเปรียบเทียบจำนวน 5ข้อ การคิดแก้ปัญหา จำนวน 5 ข้อรวมทั้งสิ้น 24 ข้อ

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปได้ว่าเด็กประถมวัยมีทักษะการคิดโดยรวมสูงขึ้นหลังจากการเรียนโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์


บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา ผลการศึกษาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย ผลปรากฏว่าเด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดโดยรวมสูงขึ้นหลังจากการเรียนโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ 
2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยวัย พบว่าเด็กปฐมวัยทุกคน มีค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนทักษะ การคิด ระหว่างเรียนและหลังเรียนทุกด้านผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60% 
ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งถัดไป  
1. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย ทักษะการคิดวิจารณญาณและทักษะการคิดที่สำคัญด้านอื่นๆ 
2 ในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาเกี่ยวกับทักษะการคิดของเด็กประถมวัยโดยใช้สื่อของเล่นพื้นบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาทักษะการคิด












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น