วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary No. 11 Tuesday 27 October , 2558

Diary No. 11 ,  Science Experiences Management for Early childhood

Instructor Jintana suksumran Tuesday 27 October , 2558 Time : 13.30 - 17.30 PM. Gruop 102.




Knowledge.


1. กิจกรรมดอกไม้บาน


       นำการดาษที่อาจารย์แจกให้คนละ1แผ่น มาพับและตัดให้เป็นรูปดอกไม้ ตกแต่งให้สวยงาม หลังจากนั้นก็นำมาลอยในถาดที่มีน้ำ(H2O) พอลอยได้สักพัก ดอกไม้ก็เริ่มคลี่ดอกบานออกอย่างสวยงาม  หลักการที่ทำให้ดอกไม้บาน เนื่องจาก กระดาษดูดซึมน้ำ(H2O) กล่าวคือ น้ำ(H2O) จะเข้าไปแทนที่ของพื้นที่ในกระดาษที่เป็นช่องว่าง  ช่องวางที่มีน้ำเข้าไปแทนที่ ก็จะทำให้ดอกไม้บานออก และดอกไม้ที่มีขนาดเล็กจะบานไวกว่าดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่  เพราะ นำเข้าไปแทนที่ช่องว่าง ดอกไม้ที่มีขนาดเล็กก็จะมีช่องว่างน้อยกว่าดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่ จึงทำให้ดอกไม้ดอกเล็กบานได้ไวกว่าดอกใหญ่ 

 2.กิจกรรมรูไหนพุ่งไกลกว่ากัน


        นำขวดพลาสติกมา 1 ขวด เจาะรู 3 รู เว้นระยัห่างพอประมาณ ให้ได้ระดับ สูง กลาง ต่ำ ที่พอดีกับขนาดของขวด หลังจากนั้นก็ใช้นิ้วปิดแต่ละรูไว้ แล้วเติมน้ำใส่ให้เต็มขวด หลังจากนั้น ปล่อยทั้ง 3 รูพร้อมกัน แล้วสังเกตผลว่า รูไหนที่น้ำพุ่งไกลที่สุด จากผลการทดลองพบว่า รูล่างสุดพุ่งไกลกว่า เนื่องจากมีแรงดันน้ำมากที่สุด


   3.กิจกรรมน้ำพุ(แรงดันน้ำ)


เมื่อเราเทน้ำ(H2O)ใส่ในขวดที่มีสายยางต่ออยู่  น้ำ(H2O)ก็จะไหลลงไปที่ปลายวสยยาง ยิ่งยกขวดสูงเท่าไหร่ น้ำ(H2O)พุยิ่งพุ่งแรง จะทำให้เรารู้ว่า น้ำ(H2O)จะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ตำเสมอ เป็นการทดลองที่ไม่ยุ่งยากและใช้เวลาน้อย แต่ทำให้เห็นภาพและเข้าใจชัดขึ้น


 4. กิจกรรมเป่าเชือกจากหลอด
    นำไหมพรหมมาร้อยใส่หลอดแล้วมัดขมวดปม  เวลาเป่าให้นำมาใส่ปากแล้วเฉียงขึ้น เป่าให้สุดแรง แล้วเชือกจะยกตัวขึ้นจากหลอด ทำให้ไหมำรหมเคลื่อนที่


 5. กิจกรรมการทดลอง แรงดันอากาศ จากกระดาษ (คล้ายๆลูกยาง)

     นำกระดาษมาตัดตรงกลางครึ่งหนึ่ง ตัดให้เท่าๆกัน และพับไปคนละข้าง  จากนั้นนำคลิปหนีบกระดาษมีติดไว้ส่วนล่างของกระดาษ และโยนขึ้นข้างบน  จากนั้น อากาศจะเคลื่อนที่มาพยุงปีกของกระดาษเอาไว้ทั้ง 2 ข้าง จึงทำให้วัตถุลอยอยู่ในอากาศได้ 


6.กิจกรรมเทียนไขดูดน้ำ(H2O)



   นำเทียนไขที่อยู่ในถาดที่มีน้ำ(H2O) มาจุดไฟ แล้วใช้แก้วครอบ  หลังจากนั้น ไฟจะเริ่มดับ พอไฟในเทียนดับ น้ำ(H2O)ก็จะเข้าไปอยู่ในแก้ว  เพราะ O2 ในแก้วถูกใช้ในการเผาไหม้ ความดันในแก้วมีน้อยกว่านอกแก้ว จึงทำให้ความดันอากาศข้างนอกดันน้ำ(H2O)เข้าไปในแก้ว

7.กิจกรรมกระจกสะท้อนสะท้อนแสง





   นำรูปมาคนละ 1 รูป แล้วนำไปวางที่มุมกระจกที่อาจารย์เตรียมมาให้  และเราจะเห็นการสะท้อนของกระจก จะเห็นเป็นภาพที่หลายหลายขึ้น โดยแสงจะสะท้อนไปที่กระจกอีกแผ่นหนึ่ง และเกิดการสะท้อนไปเรื่อยๆ จนเห็นภาพเป็นหลายภาพ




Assessment.


Skills. (ทักษะที่ได้รับ)

  • ได้ทักษะการเรียนแบบลงมือกระทำด้วยตนเอง
  • ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์หาเหตุและผลจากกิจกรรมการทดลอง
  • ได้การเชื่อมโยงหลักการทางวิทยาศาสตร์


Apply. ( การนำไปใช้)

  • สามารถนำไปใช้ในการบูรณาการเข้ากับชั้นเรียนของเด็กปฐมวัย และยังได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อีกด้วย และยังได้แนวทางการคิดกิจกรรมต่างๆทางวิทยาศาสตร์ที่หลายหลาย ที่จะนำมาใช้สอนในชั้นเรียนได้


Classroom atmosphere. (บรรยากาศในห้องเรียน)

  • เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์อธิบายเกี่ยวกับกิจกรรมการทดลอง มี INTERACTION กับอาจารย์ผู้สอนเป็นอย่างดี ทำให้บรรยากาศในการเรียนเป็นไปอย่างสนุกสนาน


Self-Assessment. (ประเมินตนเอง)

  • มาก่อนเวลา แต่งกายเรียบร้อย เตรียมอุปกรณ์การเรียนให้ครบ และจดสรุปจากความรู้ที่อาจารย์มอบให้


Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

  • เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และทำกิจกรรมดีมาก  ตั้งใจฟังเอาจารย์เวลาอธิบายถึงหลักการและเหตุผลในกิจกรรมการทดลอง  พอถึงเวลาทำงานกลุ่มแต่ละคนก็ต่างทำงานของตนเอง พออาจารย์ให้จดบันทึก เพื่อนก็ตั้งใจจดบันทึกของตนเอง ไม่คุยเสียงดัง เวลาอาจารย์ถาม เพื่อนก็ตั้งใจตอบคำถาม 


Teacher-Assessment. (ประเมินครู)

  • เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมสำหรับการสอน มีการเตรียมอุปกรณ์ เตรียมคำถามมาถามนักศึกษาทุกคาบ ถามและกระตุ้นให้นักศึกษาตอบ นักศึกษาตอบผิดอาจารย์จะไม่ว่า แต่จะแนะแนวคำตอบให้ ทำให้นักศึกษาสามารถตอบคำถามได้ตรงประเด็น






วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary No. 10. Tuesday 20 October , 2558

Diary No. 10 ,  Science Experiences Management for Early childhood

Instructor Jintana suksumran Tuesday 20 October , 2558 Time : 13.30 - 17.30 PM.


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

Knowledge

  • เพื่อนนำเสนอบทความ

         เลขที่ี 11 เรื่อง ทำอาหาร กิจกรรมที่ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย 
         เลขที่ 12 เรื่อง  การสอนลูก เรื่อง ฤดูกาล

  • นำเสนอของเล่น 3 ชิ้น
1. ของเล่นที่เด็กสามารถทำเองได้  : ผีเสื้อโยกเยก  
2. ของเล่นที่อยู่ในมุมประสบการณ์ : เงากับผีเสื้อ
          3. ของเล่นที่เกี่ยวกับการทดลอง : ผีเสื้อกับน้ำหวาน
         
    
  1. ของเล่นที่เด็กสามารถทำเองได้  : ผีเสื้อโยกเยก  

ผีเสื้อโยกเยก


                                                           

              2. ของเล่นที่อยู่ในมุมประสบการณ์ : เงากับผีเสื้อ






Assessment


Skills (ทักษะที่ได้รับ)

  • ได้ทักษะการแสดงผลงานและแสดงความคิดเห็น
  • ได้ทักษะการวางแผนและทำงานเป็นกลุ่ม
  • ได้การเชื่อมโยงหลักการทางวิทยาศาสตร์


Apply ( การนำไปใช้)

  • สามารถนำไปใช้ในการบูรณาการเข้ากับชั้นเรียนของเด็กปฐมวัย และยังได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อีกด้วย และยังได้รู้วิธีการทำของเล่นของเพื่อนแต่ละกลุ่ม  เผื่อเวลาที่เราสนใจ จะได้นำมาทำเป็นสื่อการสอนได้ในหน่วยที่เราจะสอนเด็กได้อีกด้วย


Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

  • เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก ตั้งใจฟังเวลาเพื่อนออกไปนำเสนองาน


Self-Assessment (ประเมินตนเอง)

  • มาก่อนเวลา มาเตรียมนำเสนอ เตรียมไฟล์งานโหลดลงคอม เพื่อใช้ในการนำเสนอ มีการตอบคำถามกับอาจารย์ผู้สอน และมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ


Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

  • เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และทำกิจกรรมดีมาก  ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองาน พอถึงเวลาทำงานแต่ละคนก็ต่างทำงานของตนเอง พออาจารย์ให้จดบันทึก เพื่อนก็ตั้งใจจดบันทึกของตนเอง ไม่คุยเสียงดัง เวลาอาจารย์ถาม เพื่อนก็ตั้งใจตอบคำถาม เพื่อนมีความพร้อมในการนำเสนอมาก โดยการนำโน๊ตบุ๊คส่วนตัวมาพรีเซ้นงาน เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา


Teacher-Assessment (ประเมินครู)

  • เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมสำหรับการสอน มีการเตรียมอุปกรณ์ เตรียมคำถาม และสนใจเวลานักศึกษานำเสนองาน คอยให้คำชี้แนะเป็นรายบุคคล เพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงในครั้งถัดไป






วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary No. 9 Tuesday 13 October , 2558

Diary No. 9 ,  Science Experiences Management for Early childhood

Instructor Jintana suksumran Tuesday 13 October , 2558 Time : 13.30 - 17.30 PM.




Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
สาระที่ควรเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับธรมมชาติรอบตัวเด็ก
อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 4-5คน ทำมายแมพเกรากับสาระที่ควรเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย กลุ่มของดิฉันจับฉลากได้เรื่อง ธรรมชาติรอบตัวเด็ก เลยปรึกษากับสมาชิกในกลุ่ม เราจะทำการสอนเด็กเรื่อง ผีเสื้อ







ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)
-แบ่งกลุ่มสรุปเนื้อหาจากสาระที่ควรรู้ กลุ่มของหนูจับได้เรื่องธรรมชาติรอบตัว  โดยตกลงกันในกลุ่มเลือกหน่วยผีเสื้อค่ะ


หน่วยผีเสื้อ

เรื่องผีเสื้อแบ่งหัวข้อได้ดังนี้ 
-การดำรงชีวิตของผีเสื้อ
-ประโยชน์ของผีเสื้อ
-ชนิดของผีเสื้อ
-ลักษณะของผีเสื้อ

ทำของเล่นเกี่ยวกับหน่วยผีเสื้อดังนี้
-กล่องเงาของผีเสื้อ (ของเล่นเข้ามุม)
-ผีเสื้อโยกเยก (ของเล่นที่ประดิษฐฺ์เองได้)
-น้ำผึ้งน้ำเชื่อม (ใช้ในการทดลอง)




Assessment.


Skills. (ทักษะที่ได้รับ)

-ได้ทักษะการแสดงผลงานและแสดงความคิดเห็น
-ได้ทักษะการวางแผนและทำงานเป็นกลุ่ม

Apply ( การนำไปใช้)
-สามารถนำไปใช้ในการบูรณาการเข้ากับชั้นเรียนของเด็กปฐมวัย และยังได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อีกด้วย และยังได้รู้วิธีการทำของเล่นของเพื่อนแต่ละคน เผื่อเวลาที่เราสนใจ จะได้นำมาทำเป็นสื่อการสอนได้

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
-เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก ตั้งใจฟังอาจารย์สรุป และตั้งใจฟังเพื่อนบรรยายเวลานำเสนอ  ม่ีคุยกันบ้างเล็กน้อย  สภาพอากาศเย็นดี เพราะเครื่องปรับอากาศ จอฉายโปร์เจ็คเตอร์มีการขัดข้องเล็กน้อย อาจเสียเวลาในการไปตามเจ้าหน้าที่ แต่เพื่อนๆก็ช่วยกันแก้ปัญหาโดยการนำโน๊ตบุ๊คส่วนตัวมาพรีเซ้นงานแทน เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
- มาก่อนเวลา มาเตรียมนำเสนอ เตรียมไฟล์งานโหลดลงคอม เพื่อใช้ในการนำเสนอ มีการตอบคำถามกับอาจารย์ผู้สอน และมีINTERACTIONกับเพื่อนๆ

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
-เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และทำกิจกรรมดีมาก  ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองาน พอถึงเวลาทำงานแต่ละคนก็ต่างทำงานของตนเอง พออาจารย์ให้จดบันทึก เพื่อนก็ตั้งใจจดบันทึกของตนเอง ไม่คุยเสียงดัง เวลาอาจารย์ถาม เพื่อนก็ตั้งใจตอบคำถาม

Teacher-Assessment (ประเมินครู)
-เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมสำหรับการสอน มีการเตรียมอุปกรณ์ เตรียมคำถาม และสนใจเวลานักศึกษานำเสนองาน คอยให้คำชี้แนะเป็นรายบุคคล เพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงในครั้งถัดไป