วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 3 , Tuesday 25 August , 2558

 Diary No. 3 , 
Science Experiences Management for Early childhood
Instructor Jintana suksumran Tuesday 25 August , 2558                                                          Time : 13.30 - 17.30 PM.
Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
พัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Development)
 - (Meaning) หมายถึง ความเจริญงอกงามด้านความสามารถทางภาษา (languages) และ การคิด (Thinking) ของแต่ละบุคคล 
       Cognitive Developmentพัฒนาขึ้นมาจากInteraction and  Environment
-เริ่มตั้งแต่เกิด ผลของการปฏิสัมพันธ์จะทำให้รู้จัก "ตน" (Self) เพราะ ตอนแรกเด็กเราไม่สามารถแยกตนออกEnvironmentได้ 
-การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาและตลอดทั้งชีวิตให้เกิดความสมดุล  (Equi-librium)
-การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างPerson and Environment

กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ประกอบด้วย 2 กระบวนการ
  1. กระบวนการดูดซึม (Assimilation)
    - Fitting a new experience it to an existing mental structure (schema).
      เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึบซับหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ให้รวมเข้าในโครงสร้างของสติปัญญา โดยจะเป็นการตีความ
  2. กระบวนการปรับโครงสร้าง (Accommodation) 
    - Revising and existing schema because of new experience.
      การเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหาเพื่อการอยู่รอด เป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้สอดคล้องกับประสบการณ์ใหม่ 
    การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุล(ฺBalance)ระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม(Environment)
-Equilibrium - seeking cognitive stability through assimilation and accomodation
-การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่
-การปรับโครงสร้างเดิมเพื่อให้สอดคล้องกับประสบการณ์ที่รับเข้ามา
-การรปรับแนวคิดและพฤติกรรมจะทำให้เกิดตวามสมดุล(Balance) แล้วเกิดโครงสร้างมางสติปัญญา
สรุป : สติปัญญา เกิดจากการปรับแนวคิด และพฤติกรรม จนเข้าสู่สภาวะสมดุล 

Assessment
Skills (ทักษะที่ได้รับ)
-ได้รู้เกี่ยวกับDevelopment ทางด้านสติปัญญาของเด็ก ได้รู้ถึงพัฒนาการของเด็ก
-ได้รับทักษะการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ (ถาม-ตอบ)

Apply ( การนำไปใช้)
-ใช้ในการบูรณาการการเรียนรู้ของเด็กชั้นปฐมวัยได้ นำไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้ถูกให้ตรงตามพัฒนาการ
classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการตั้งใจฟังคุณครูดีมาก บรรยากาศเย็น นั่งกับพื้น ลำบากต่อการเขียนนิดหน่อย
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
มาก่อนเวลาเข้าเรียน ตั้งใจเรียนบางครั้ง เพราะมีเผลอคุยกับเพื่อนในชั้นเรียน
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน และร่วมกันทำกิจกรรม
Teacher-Assessment (ประเมินครู)
เเต่งกายสุภาพเรียบร้อยสอนเข้าใจ มาก่อนเวลาสอน มีความพร้อมด้านการเตรียมสื่อการสอน ..

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 2 , Tuesday 18 August , 2558

สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
บทความเรื่อง : เรียนรู้ อยู่รอด (Learning, Surviving)
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นการศึกษาที่มีจุดเน้นอยู่ตรงการสร้างให้เยาวชนมีทักษะชีวิต 

ทักษะการเรียนรู้และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อที่ว่าพวกเขาจะสามารถอยู่รอดปลอดภัยต่อไปได้อย่างดีท่ามกลางวิกฤตการณ์ของโลก ทั้งที่เกิดจากปัญหาทางสังคมและทางธรรมชาติที่นับวันก็มีแต่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นทุกวัน                                                                 
                                                       ดูบทความได้ทีั่นี่
เหตุแห่งปัญญาเหล่านี้ ค่อยๆ สั่งสมและก่อตัวขึ้นจนกระทั่งวิถีทางของการจัดการศึกษาไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากการจัดสรรให้นักเรียนต้องย้อนกลับมาเรียนรู้จากโจทย์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ด้วยการฝึกให้ลงมือทำแทนการจดจำเพื่อนไปสอบ เพราะเกณฑ์การวัดผลการเรียนว่าใครผ่านหรือไม่ผ่านบทเรียนนี้ ไม่ใช่การ “สอบได้” หรือ “สอบตก” อีกต่อไป แต่การผ่านนั้นมี “ชีวิต” และความอยู่รอดของมนุษยชาติเป็นเดิมพัน
รู้ทันภัยพิบัติ
เมื่อสิบกว่าปีก่อนคนไทยได้ลิ้มรสความเสียหายอันเกิดจากภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์สึนามิ ซึ่งมีสาเหตุมาจากแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในมหาสมุทรอินเดียเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากกว่า165,000 รายที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้กับจุดเกิดแผ่นดินไหว ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมถึงดินแดนที่อยู่ไกลออกไปในแอฟริกาตะวันออกต้องประสบกับความทุกข์แสนสาหัสอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน
ด้วยเหตุนี้ องค์การยูเนสโกและองค์การระหว่างประเทศหลายแห่งจึงออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการจัดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิโลกขึ้น นอกจากนั้นยังได้เสนอวิธีการป้องกันภัยอีกหนทางหนึ่ง นั่นคือ การให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดภัยพิบัติ เช่น การเปิดสอนหลักสูตรการป้องกันภัยสึนามิในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เกิดภัยพิบัติ โดยหวังว่านักเรียนที่ผ่านหลักสูตรนี้ จะสามารถนำเอาความรู้ที่มีไปช่วยเหลือครอบครัวและชุมชนของตนต่อไป
ประเทศญี่ปุ่นนับเป็นประเทศต้นแบบที่มีการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติอย่างเป็นระบบ เนื่องจากตั้งอยู่ในบริเวณที่เป้นแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวได้บ่อย นักเรีนยตั้งแต่ชั้นประถมถึงปริญญาตรีจึงมีการซ้อมอพยพหนีภัยแผ่นดินไหวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และต้องพร้อมเผชิญกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อทุกคน ต้องมีความรู้และผ่านการฝึกทักษะการเอาตัวรอดมาเป็นอย่างดีด้วยเหตุนี้ สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงได้ร่วมกับสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency-JICA)และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยดำเนินโครงการให้การศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาตินับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 เป็นต้นมา
โครงการนี้เริ่มตั้งแต่ขั้นการสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อนำร่องการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในเขตพื้นที่ที่มีความเสี่ยงไปจนถึงการพัฒนาการพัฒนาสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน การอบรมครูโรงเรียนต้นแบบในด้านการป้องกันภับพิบัติทางธรรมชาติ รวมถึงการขยายผลสู่นักเรียนและชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการและเตรียมความพร้อมในการเผชิญสถานการณ์
นอกจากนี้ยังมีการจัดทำสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อขยายผลให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนและศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบด้านภัยพิบัติ และแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างให้ครูสามารถจัดกิจกรรมด้านภัยพิบัติในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีแนวปฏิบัติเบื้องต้นคือ ทันทีที่สัญญาณเตือนภัยดังขึ้น นักเรียนและครูหลบเข้าไปใต้โต๊ะเรียน จากนั้นทิ้งช่วงประมาณ 5 นาที หัวหน้าห้องจะนำเพื่อนๆ ออกจากห้องเรียน โดยตั้งแถว นับจำนวนและลงจากอาคารเรียนพร้อมกันเพื่อมุ่งหน้าไปยังจุดรวมพลที่สนามหน้าโรงเรียน นอกจากนี้ยังมีการคลานต่ำ การใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูก และใช้ถุงครอบศีรษะเมื่ออากาศหมด การฝึกดับเพลิงโดยใช้กระสอบชุบน้ำและเครื่องดับเพลิง การฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดอและระงับเหตุไฟไหม้ที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากเกิดแผ่นดินไหว รวมถึงการฝึกเดินบนสะพานเชือก การฝึกเดินบนสะพานไม้ในกรณีที่เส้นทางถูกตัดขาดจากดินโคลนถล่มในฐานการเรียนรู้ที่จำลองสถานการณ์จริงที่อาจเกิดขึ้นได้ เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น ผู้สอนสามารถสร้างการเรียนรู้ในหัวข้อผู้ประสบภัยใช้เทคนิคอะไรในการรับมือภัยพิบัติบ้าง แล้วนำมาทำให้น่าสนใจโดยประมวลออกมาเป็นเกม หรือกลายเป็นสื่อในการเรียนการสอนต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการสั่งสมความรู้เรื่องการใช้ชีวิตระหว่างประสบภัยพิบัติก่อนที่จะได้เผชิญหน้ากับเหตุการณ์จริง โดยโรงเรียนมีหน้าที่หลักในการเชื่อมโยงความรู้พื้นฐานเข้ากับความสามารถในการจัดการเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ เช่น การนับจำนวนผู้บาดเจ็บ การคิดอัตรร้อยละ การทำกราฟ เป็นต้น ซึ่งการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งก่อนเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ ถือเป็นเรื่องที่โรงเรียนทุกแห่งต้องให้ความสำคัญ

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 1 , Tuesday 11 August , 2558


                                                             Diary No. 1 , 
Science Experiences Management for Early childhood
Instructor Jintana suksumran Tuesday 11 August , 2558                                                             Time : 13.30 - 17.30 PM.
Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
teacherบอกรายละเอียดเกี่ยวกับ Course Syllabus (แนวการสอน) เเละบอกAgreement(ข้อตกลง)ในรายวิชาเรียน
การจัดประสบการณ์วิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Knowledge .. (ความรู้ที่ได้รับ)
คุณสมบัติของบัณฑิต 6 ด้าน
- Knowledge (ความรู้)
Morals  (คุณธรรม) ,
-Skill of Intelligence (ทักษะทางปัญญา)
-เทคโนโลยี ความสัมพันธ์ทักษะทางสังคม
-Learning Management (การจัดการเรียนรู้) ..
สาระสำคัญ 4 ด้าน ทางวิทยาศาสตร์
- เกี่ยวกับตัวเด็ก
- บุคคลเเละสถานที่เเวดล้อม
- สิ่งต่างๆรอบตัว
- ธรรมชาติครอบครัว
Skills of Science ..
-ทักษะการสังเกต การสื่อความหมาย
-การจัดประสบการณ์
-หลักการจัดประสบการณ์
-เทคนิคการจัดประสบการณ์
-กระบวนการจัดประสบการณ์
-ทฤษฎีการจัดประสบการณ์
-สื่อและสภาพแวดล้อมสนับสนุนการจัดประสบการณ์

Assessment
Skills (ทักษะที่ได้รับ)
-
Apply ( การนำไปใช้)
ใช้ในการบูรณาการการเรียนรู้ของเด็กชั้นปฐมวัยได้
classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการตั้งใจฟังคุณครูดีมาก บรรยากาศไม่ร้อน (ไฟดับ) ที่นั่งเพียงพอต่อนักศึกษา อากาศถ่ายเท
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
มาก่อนเวลาเข้าเรียน ตั้งใจเรียนบางครั้ง เพราะมีเผลอคุยกับเพื่อนในชั้นเรียน
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน และร่วมกันทำกิจกรรม
Teacher-Assessment (ประเมินครู)
เเต่งกายสุภาพเรียบร้อยสอนเข้าใจ มาก่อนเวลาสอน มีความพร้อมด้านการเตรียมสื่อการสอน..

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

RESEARCH

สรุปงานวิจัย
การส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ = Promoting thinking skills of pre-school children through scientific activities
ชื่องานวิจัย :  การส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์
ผู้จัดทำ : สุนดา เภาศรี
ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทที่ 1 บทนำ
 ในปัจจุบันคุณครูมุ่งเน้นสอนแต่เนิ้อหาสาระให้กับเด็ก ใช้ประสบการณ์เดิมๆ  ทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายในกระบวนการเรียนรู้  เรียนไม่สนุก ไม่มีความสุข ขาดโอกาสในการแสวงหาความรู้  ขาดสื่อและแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหา และขาดโอกาสในการลงมือทำด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้ ทำให้ผู้ศึกษาพบปัญหาเด็กปฐมวัย ขาดทักษะการคิด แก้ไขปัญหาไม่เป็น สรุปความคิดรวบยอดต่างๆไม่ได้ และไม่รู้จักแสวงหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ 

วัตถุประสงค์ของการศึกษา 
 1. เพื่อศึกษาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาตร์ 
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดเปรียบเทียบและคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยระหว่างเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์
ขอบเขตการศึกษา 



บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านวังทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 จำนวน 23 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 
1.แผนการจัดประสบการณ์ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กประถมวัย โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย หน่วยการเรียนรู้จำนวน 5 หน่วย หน่วยละ 5 แผนได้แก่ หน่วยปีเสื้อ หน่วยสัตว์เลี้ยง หน่วยผักและหน่วยมด รวมทั้งสิ้น 25 แผน และแบบฝึกหัดระหว่างเรียนจำนวน 4 ตอน 
2.แบบทดสอบทักษะการคิดจำนวน 1 ฉบับมี 4 ตอนประกอบด้วย แบบทดสอบทักษะการคิดคล่อง จำนวน 5 ข้อ การคิดหลากหลาย จำนวน 9 ข้อ การคิดเปรียบเทียบจำนวน 5ข้อ การคิดแก้ปัญหา จำนวน 5 ข้อรวมทั้งสิ้น 24 ข้อ

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปได้ว่าเด็กประถมวัยมีทักษะการคิดโดยรวมสูงขึ้นหลังจากการเรียนโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์


บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา ผลการศึกษาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย ผลปรากฏว่าเด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดโดยรวมสูงขึ้นหลังจากการเรียนโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ 
2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยวัย พบว่าเด็กปฐมวัยทุกคน มีค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนทักษะ การคิด ระหว่างเรียนและหลังเรียนทุกด้านผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60% 
ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งถัดไป  
1. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย ทักษะการคิดวิจารณญาณและทักษะการคิดที่สำคัญด้านอื่นๆ 
2 ในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาเกี่ยวกับทักษะการคิดของเด็กประถมวัยโดยใช้สื่อของเล่นพื้นบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาทักษะการคิด