สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
บทความเรื่อง : เรียนรู้ อยู่รอด (Learning, Surviving)
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นการศึกษาที่มีจุดเน้นอยู่ตรงการสร้างให้เยาวชนมีทักษะชีวิต
ทักษะการเรียนรู้และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อที่ว่าพวกเขาจะสามารถอยู่รอดปลอดภัยต่อไปได้อย่างดีท่ามกลางวิกฤตการณ์ของโลก ทั้งที่เกิดจากปัญหาทางสังคมและทางธรรมชาติที่นับวันก็มีแต่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นทุกวัน
ดูบทความได้ทีั่นี่
เหตุแห่งปัญญาเหล่านี้ ค่อยๆ สั่งสมและก่อตัวขึ้นจนกระทั่งวิถีทางของการจัดการศึกษาไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากการจัดสรรให้นักเรียนต้องย้อนกลับมาเรียนรู้จากโจทย์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ด้วยการฝึกให้ลงมือทำแทนการจดจำเพื่อนไปสอบ เพราะเกณฑ์การวัดผลการเรียนว่าใครผ่านหรือไม่ผ่านบทเรียนนี้ ไม่ใช่การ “สอบได้” หรือ “สอบตก” อีกต่อไป แต่การผ่านนั้นมี “ชีวิต” และความอยู่รอดของมนุษยชาติเป็นเดิมพัน
รู้ทันภัยพิบัติ
เมื่อสิบกว่าปีก่อนคนไทยได้ลิ้มรสความเสียหายอันเกิดจากภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์สึนามิ ซึ่งมีสาเหตุมาจากแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในมหาสมุทรอินเดียเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากกว่า165,000 รายที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้กับจุดเกิดแผ่นดินไหว ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมถึงดินแดนที่อยู่ไกลออกไปในแอฟริกาตะวันออกต้องประสบกับความทุกข์แสนสาหัสอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน
ด้วยเหตุนี้ องค์การยูเนสโกและองค์การระหว่างประเทศหลายแห่งจึงออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการจัดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิโลกขึ้น นอกจากนั้นยังได้เสนอวิธีการป้องกันภัยอีกหนทางหนึ่ง นั่นคือ การให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดภัยพิบัติ เช่น การเปิดสอนหลักสูตรการป้องกันภัยสึนามิในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เกิดภัยพิบัติ โดยหวังว่านักเรียนที่ผ่านหลักสูตรนี้ จะสามารถนำเอาความรู้ที่มีไปช่วยเหลือครอบครัวและชุมชนของตนต่อไป
ประเทศญี่ปุ่นนับเป็นประเทศต้นแบบที่มีการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติอย่างเป็นระบบ เนื่องจากตั้งอยู่ในบริเวณที่เป้นแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวได้บ่อย นักเรีนยตั้งแต่ชั้นประถมถึงปริญญาตรีจึงมีการซ้อมอพยพหนีภัยแผ่นดินไหวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และต้องพร้อมเผชิญกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อทุกคน ต้องมีความรู้และผ่านการฝึกทักษะการเอาตัวรอดมาเป็นอย่างดีด้วยเหตุนี้ สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงได้ร่วมกับสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency-JICA)และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยดำเนินโครงการให้การศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาตินับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 เป็นต้นมา
โครงการนี้เริ่มตั้งแต่ขั้นการสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อนำร่องการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในเขตพื้นที่ที่มีความเสี่ยงไปจนถึงการพัฒนาการพัฒนาสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน การอบรมครูโรงเรียนต้นแบบในด้านการป้องกันภับพิบัติทางธรรมชาติ รวมถึงการขยายผลสู่นักเรียนและชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการและเตรียมความพร้อมในการเผชิญสถานการณ์
นอกจากนี้ยังมีการจัดทำสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อขยายผลให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนและศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบด้านภัยพิบัติ และแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างให้ครูสามารถจัดกิจกรรมด้านภัยพิบัติในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีแนวปฏิบัติเบื้องต้นคือ ทันทีที่สัญญาณเตือนภัยดังขึ้น นักเรียนและครูหลบเข้าไปใต้โต๊ะเรียน จากนั้นทิ้งช่วงประมาณ 5 นาที หัวหน้าห้องจะนำเพื่อนๆ ออกจากห้องเรียน โดยตั้งแถว นับจำนวนและลงจากอาคารเรียนพร้อมกันเพื่อมุ่งหน้าไปยังจุดรวมพลที่สนามหน้าโรงเรียน นอกจากนี้ยังมีการคลานต่ำ การใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูก และใช้ถุงครอบศีรษะเมื่ออากาศหมด การฝึกดับเพลิงโดยใช้กระสอบชุบน้ำและเครื่องดับเพลิง การฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดอและระงับเหตุไฟไหม้ที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากเกิดแผ่นดินไหว รวมถึงการฝึกเดินบนสะพานเชือก การฝึกเดินบนสะพานไม้ในกรณีที่เส้นทางถูกตัดขาดจากดินโคลนถล่มในฐานการเรียนรู้ที่จำลองสถานการณ์จริงที่อาจเกิดขึ้นได้ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น ผู้สอนสามารถสร้างการเรียนรู้ในหัวข้อผู้ประสบภัยใช้เทคนิคอะไรในการรับมือภัยพิบัติบ้าง แล้วนำมาทำให้น่าสนใจโดยประมวลออกมาเป็นเกม หรือกลายเป็นสื่อในการเรียนการสอนต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการสั่งสมความรู้เรื่องการใช้ชีวิตระหว่างประสบภัยพิบัติก่อนที่จะได้เผชิญหน้ากับเหตุการณ์จริง โดยโรงเรียนมีหน้าที่หลักในการเชื่อมโยงความรู้พื้นฐานเข้ากับความสามารถในการจัดการเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ เช่น การนับจำนวนผู้บาดเจ็บ การคิดอัตรร้อยละ การทำกราฟ เป็นต้น ซึ่งการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งก่อนเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ ถือเป็นเรื่องที่โรงเรียนทุกแห่งต้องให้ความสำคัญ
บทความเรื่อง : เรียนรู้ อยู่รอด (Learning, Surviving)
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นการศึกษาที่มีจุดเน้นอยู่ตรงการสร้างให้เยาวชนมีทักษะชีวิต
ทักษะการเรียนรู้และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อที่ว่าพวกเขาจะสามารถอยู่รอดปลอดภัยต่อไปได้อย่างดีท่ามกลางวิกฤตการณ์ของโลก ทั้งที่เกิดจากปัญหาทางสังคมและทางธรรมชาติที่นับวันก็มีแต่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นทุกวัน
ดูบทความได้ทีั่นี่
เหตุแห่งปัญญาเหล่านี้ ค่อยๆ สั่งสมและก่อตัวขึ้นจนกระทั่งวิถีทางของการจัดการศึกษาไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากการจัดสรรให้นักเรียนต้องย้อนกลับมาเรียนรู้จากโจทย์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ด้วยการฝึกให้ลงมือทำแทนการจดจำเพื่อนไปสอบ เพราะเกณฑ์การวัดผลการเรียนว่าใครผ่านหรือไม่ผ่านบทเรียนนี้ ไม่ใช่การ “สอบได้” หรือ “สอบตก” อีกต่อไป แต่การผ่านนั้นมี “ชีวิต” และความอยู่รอดของมนุษยชาติเป็นเดิมพัน
รู้ทันภัยพิบัติ
เมื่อสิบกว่าปีก่อนคนไทยได้ลิ้มรสความเสียหายอันเกิดจากภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์สึนามิ ซึ่งมีสาเหตุมาจากแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในมหาสมุทรอินเดียเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากกว่า165,000 รายที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้กับจุดเกิดแผ่นดินไหว ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมถึงดินแดนที่อยู่ไกลออกไปในแอฟริกาตะวันออกต้องประสบกับความทุกข์แสนสาหัสอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน
ด้วยเหตุนี้ องค์การยูเนสโกและองค์การระหว่างประเทศหลายแห่งจึงออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการจัดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิโลกขึ้น นอกจากนั้นยังได้เสนอวิธีการป้องกันภัยอีกหนทางหนึ่ง นั่นคือ การให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดภัยพิบัติ เช่น การเปิดสอนหลักสูตรการป้องกันภัยสึนามิในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เกิดภัยพิบัติ โดยหวังว่านักเรียนที่ผ่านหลักสูตรนี้ จะสามารถนำเอาความรู้ที่มีไปช่วยเหลือครอบครัวและชุมชนของตนต่อไป
ประเทศญี่ปุ่นนับเป็นประเทศต้นแบบที่มีการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติอย่างเป็นระบบ เนื่องจากตั้งอยู่ในบริเวณที่เป้นแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวได้บ่อย นักเรีนยตั้งแต่ชั้นประถมถึงปริญญาตรีจึงมีการซ้อมอพยพหนีภัยแผ่นดินไหวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และต้องพร้อมเผชิญกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อทุกคน ต้องมีความรู้และผ่านการฝึกทักษะการเอาตัวรอดมาเป็นอย่างดีด้วยเหตุนี้ สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงได้ร่วมกับสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency-JICA)และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยดำเนินโครงการให้การศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาตินับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 เป็นต้นมา
โครงการนี้เริ่มตั้งแต่ขั้นการสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อนำร่องการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในเขตพื้นที่ที่มีความเสี่ยงไปจนถึงการพัฒนาการพัฒนาสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน การอบรมครูโรงเรียนต้นแบบในด้านการป้องกันภับพิบัติทางธรรมชาติ รวมถึงการขยายผลสู่นักเรียนและชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการและเตรียมความพร้อมในการเผชิญสถานการณ์
นอกจากนี้ยังมีการจัดทำสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อขยายผลให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนและศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบด้านภัยพิบัติ และแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างให้ครูสามารถจัดกิจกรรมด้านภัยพิบัติในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีแนวปฏิบัติเบื้องต้นคือ ทันทีที่สัญญาณเตือนภัยดังขึ้น นักเรียนและครูหลบเข้าไปใต้โต๊ะเรียน จากนั้นทิ้งช่วงประมาณ 5 นาที หัวหน้าห้องจะนำเพื่อนๆ ออกจากห้องเรียน โดยตั้งแถว นับจำนวนและลงจากอาคารเรียนพร้อมกันเพื่อมุ่งหน้าไปยังจุดรวมพลที่สนามหน้าโรงเรียน นอกจากนี้ยังมีการคลานต่ำ การใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูก และใช้ถุงครอบศีรษะเมื่ออากาศหมด การฝึกดับเพลิงโดยใช้กระสอบชุบน้ำและเครื่องดับเพลิง การฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดอและระงับเหตุไฟไหม้ที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากเกิดแผ่นดินไหว รวมถึงการฝึกเดินบนสะพานเชือก การฝึกเดินบนสะพานไม้ในกรณีที่เส้นทางถูกตัดขาดจากดินโคลนถล่มในฐานการเรียนรู้ที่จำลองสถานการณ์จริงที่อาจเกิดขึ้นได้ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น ผู้สอนสามารถสร้างการเรียนรู้ในหัวข้อผู้ประสบภัยใช้เทคนิคอะไรในการรับมือภัยพิบัติบ้าง แล้วนำมาทำให้น่าสนใจโดยประมวลออกมาเป็นเกม หรือกลายเป็นสื่อในการเรียนการสอนต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการสั่งสมความรู้เรื่องการใช้ชีวิตระหว่างประสบภัยพิบัติก่อนที่จะได้เผชิญหน้ากับเหตุการณ์จริง โดยโรงเรียนมีหน้าที่หลักในการเชื่อมโยงความรู้พื้นฐานเข้ากับความสามารถในการจัดการเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ เช่น การนับจำนวนผู้บาดเจ็บ การคิดอัตรร้อยละ การทำกราฟ เป็นต้น ซึ่งการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งก่อนเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ ถือเป็นเรื่องที่โรงเรียนทุกแห่งต้องให้ความสำคัญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น